www.plan4d.com

เกร็ดความรู้เรื่องบ้าน : การใช้ปูนสำเร็จรูป

ปูนสำเร็จรูป ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดในปัจจุบัน มีความหลากหลายให้เลือกซื้อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการใช้ งาน เช่น
1. ปูนฉาบอิฐมอญ อิฐบล็อก
2. ปูนฉาบอิฐมวลเบา
3. ปูนก่ออิฐมอญอิฐบล็อก
4. ปูนก่ออิฐมวลเบา
5. ปูนฉาบโครงสร้าง
6. ปูนฉาบผิวบาง
7. ปูนซ่อมเอนกประสงค์
8. ปูนกาว
9. ปูนยาแนว

ปูนสำเร็จรูปเหล่านี้มีคุณสมบัติดีกว่าปูนที่นำมาผสมเองทุกกรณีเนื่องจากออกแบบส่วนผสมมาอย่างถูกต้องจากโรงงาน
ผลิต เพียงผู้ใช้งานนำมาผสมกับน้ำแล้วกวนให้เข้ากัน ก็สามารถนำมาใช้ในงานก่อ งานฉาบ งานปูกระเบื้อง และงานอื่นๆ ได้ ทันที

ในระยะแรกๆ จะดูเหมือนว่าปูนสำเร็จมีราคาแพง แต่หากคิดภาพรวมทั้งหมด ราคาของปูนสำเร็จไม่ได้แพงกว่าเลย และ อาจจะมีราคาถูกกว่าทรายธรรมชาติจะมีราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะย่านใจกลางเมืองใหญ่ๆ ทรายจะแพงและมีปัญหาเรื่องการขน ส่งเข้าไปในสถานที่ก่อสร้าง ถ้าใช้ปูนสำเร็จรูปเพียงแต่ขนปูนเข้าไป มีน้ำผสมงานต่างๆ ก็สามารถเดินหน้าได้ โดยไม่ต้องยุ่ง ยากมากนัก



ปูนซีเมนต์ เสือ
สำหรับก่ออิฐ และงานฉาบผนังอิฐมอญ อิฐบล็อก

คุณสมบัติพิเศษ
สูตรเพิ่มพลังยึดเกาะ ผนังที่ได้แข็งแรง ไม่แตกร้าว ฉาบลื่น ทำงานง่าย และสามารถใช้ในงานโครงสร้างขนาดเล็กได้

วิธีการใช้งาน
อุปกรณ์เสริม
ตาข่ายลวดหรือพลาสติก ในกรณีที่ต้องการฉาบหนาและบริเวณรอยต่อผนัง

คำแนะนำ
  • ไม่ควรใช้ก่อและฉาบผนังอิฐมวลเบา
  • ควรบ่มน้ำอย่างน้อย 3 วัน โดยใช้น้ำฉีดหรือกระสอบเปียกคลุม


ปูนซีเมนต์ ตราช้าง
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 (ASTM C 150 TYPE I) เหมาะสำหรับงานโครงสร้างอาคาร บ้านพักอาศัย อาทิ ฐานราก เสา คาน พื้น
คุณสมบัติพิเศษ
ให้กำลังอัดสูง โครงสร้างที่ได้จึงแข็งแรง ทนทาน

วิธีการใช้งาน
คำแนะนำ
ควรบ่มน้ำอย่างน้อย 7 วัน โดยใช้น้ำฉีด หรือกระสอบเปียกคลุม



ปูนซีเมนต์ TPI 197

เป็นปูนซีเมนต์ผสมที่ได้จากการผสมวัสดุเฉื่อย เช่น หินปูน และอื่นๆกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ผลิตขึ้นโดยให้คุณภาพของปูนซีเมนต์ที่คุณสมบัติถูกต้อง เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ผสม มอก. 80-2550 เหมาะสำหรับงานก่องานฉาบและงานเทคอนกรีตที่รับกำลังอัดไม่สูงมาก



คำแนะนำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

เหตุผลสำคัญก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การ สาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้ จึงจำเป็นต้องมีการขออนุญาตในการก่อสร้างอาคาร , ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร ฯลฯ

เอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

1. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ
3. สำเนาโฉนดที่ดิน 1 ฉบับ
4. หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน 1 ฉบับ
5. หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างอาคารชิดเขต 1 ฉบับ
6. หนังสือมอบอำนาจ ( กรณีนิติบุคคล ) 1 ฉบับ

7. แบบก่อสร้าง 3 ชุด ประกอบด้วย
     7.1 แผนผัง มาตราส่วน 1 : 500
     7.2 แผนที่โดยสังเขป
     7.3 แปลนพื้นทุกชั้น มาตราส่วน 1 : 100
     7.4 คานคอดิน , ฐานราก มาตราส่วน 1 : 100
     7.5 โครงหลังคา มาตราส่วน 1 : 100
     7.6 รูปด้าน 2 รูป มาตราส่วน 1 : 100
     7.7 รูปตัดตามยาว , รูปตัดตามขวาง มาตราส่วน 1 : 50
     7.8 ขยายเสา , ขยายฐานราก , ขยายคาน มาตราส่วน 1 : 20
     7.9 ขยายบ่อเกรอะ , บ่อซึม มาตราส่วน 1 : 20
     7.10 แสดงทางระบายน้ำ พร้อมบ่อพัก , ลาดเอียง มาตราส่วน 1 : 200

หมายเหตุ : บ้านพักอาศัยพื้นที่ไม่เกิน 150 ตร.ม. ยื่นเฉพาะ ข้อ 7.1 และ 7.2

8. รายการคำนวณวิศวกร 1 ชุด
9. หนังสือยินยอมสถาปนิก / วิศวกรผู้ออกแบบ 1 ฉบับ
10. หนังสือรับรองของวิศวกรหรือสถาปนิกผู้ควบคุมงาน 1 ฉบับ

11. ถ้าผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล จะต้องมีหนังสือดังนี้
     11.1 หนังสือรับรองการจดทะเบียน
     11.2 หนังสือบริคณฑ์สนธิ

12. ถ้าเป็นอาคารในข่ายการจัดสรรที่ดิน ให้มีใบอนุญาตหรือใบรับรองจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินมาประกอบด้วย

ค่าธรรมเนียมการก่อสร้างอาคาร
  • อาคารสูงไม่เกินสองชั้นหรือไม่เกิน 12 ม. ตร.ม. ละ 0.50 บาท
  • อาคารสูงสามชั้นหรือเกิน 12 ม.แต่ไม่เกิน 15 ม. ตร.ม.ละ 2.00 บาท
  • อาคารสูงเกินสามชั้นหรือเกิน 15 เมตร ตร.ม.ละ 4.00 บาท
  • อาคารที่บรรทุก น.น.เกิน 500 ก.ก../ตร.ม. ตร.ม.ละ 4.00 บาท
  • ที่จอดรถและทางเข้าออกของรถ ตร.ม. ละ 0.50 บาท
  • ป้าย ตร.ม. ละ 4.00 บาท
  • อาคารประเภทที่ต้องวัดความยาว เช่น ทางเชื่อม หรือทางระบายน้ำ หรือรั้ว หรือกำแพง เมตรละ 1.00 บาท

อัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต

ข้อ 1 ให้กำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตดังนี้

( 1 ) ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
( 2 ) ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
( 3 ) ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
( 4 ) ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 10 บาท
( 5 ) ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้ ฉบับละ 20 บาท
( 6 ) ใบรับรอง ฉบับละ 10 บาท
( 7 ) ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 5 บาท


ข้อ 2 ให้กำหนดค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตดังนี้

( 1 ) ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
( 2 ) ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
( 3 ) ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
( 4 ) ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 10 บาท

ที่มา : กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 ( พ.ศ. 2528 ) ออกตามความใน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

อัตราโทษและค่าปรับ

ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 52 วรรคหก มาตรา 57 หรือมาตรา 60 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 34 หรือมาตรา 57 ยังต้องระวางโทษปรับอีกไม่เกิน 6 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง มาตรา 38 มาตรา 39 หรือมาตรา 39 ตรี วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท

ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร

  1. ห้ามมิให้ก่อสร้างอาคารหรือส่วนของอาคารยื่นออกมา ในหรือเหนือทางหรือที่สาธารณะ
  2. อาคารที่ทำด้วยไม้หรือวัตถุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรือก่อด้วยอิฐไม่เสริมเหล็ก จะก่อสร้างได้ไม่เกิน 2 ชั้น
  3. อาคารที่ก่อสร้างเกิน 3 ชั้น โรงมหรสพหรือหอประชุมที่สร้างเกิน 1 ชั้น นอกจากมีบันไดตามปกติ ต้องมีทางหนีไฟ อย่างน้อยอีก 1 แห่ง
  4. อาคารที่ก่อสร้างเกิน 7 ชั้น ให้มีทางหนีไฟทางอากาศได้ตามสภาพที่เหมาะสม
  5. การก่อสร้างอาคารริมทางสาธารณะที่มีความกว้างทางไม่ถึง 6 เมตร ให้ร่นแนวของอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะ อย่างน้อย 3 เมตร
  6. ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสาธารณะ ที่ก่อสร้างริมทางสาธารณะ ที่มีความกว้างทางน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะ อย่างน้อย 6 เมตร
  7. ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสาธารณะ ที่ก่อสร้างริมทางสาธารณะ ที่มีความกว้างทางตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะ อย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างทางสาธารณะ สำหรับทางสาธารณะที่กว้างกว่า 20 เมตร ให้ร่นแนวอาการห่างจากทางสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร
  8. ห้ามมิให้ก่อสร้างอาคารสูงกว่าระดับพื้นดินเกิน 2 เท่าของระยะจากผนังด้านหน้าของอาคาร จรดแนวทางสาธารณะฟากตรงข้าม
  9. ยอดหน้าต่างประตูในอาคารให้ทำสูงไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร และบุคคลที่อยู่ในห้องสามารถเปิดประตูหน้าต่าง และออกจากห้องนั้นโดยสะดวก
  10. ช่องทางเดินในอาคารสำหรับบุคคลใช้สอยหรือพักอาศัย ให้ทำกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร กับมิให้มีเสากีดกั้น ให้ส่วนใดแคบกว่าส่วนที่กำหนดนั้น ทั้งนี้ต้องให้มีแสงสว่างแลเห็นได้ชัด
  11. วัตถุมุงหลังคาทำด้วยวัตถุทนไฟ เว้นแต่อาคารซึ่งตั้งอยู่ห่างจากอาคารอื่นซึ่งมุงด้วยวัสดุทนไฟ หรือห่างจากเขตที่ดิน ทางสาธารณะเกิน 40 เมตร
  12. รั้วหรือกำแพงทำได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับถนน
  13. อาคารที่ก่อสร้างชิดเขตที่ดินข้างเคียงให้เฉพาะฝาหรือผนังทึบ ไม่มีประตูหน้าต่างหรือช่องระบายอากาศอยู่ชิดเขต
  14. ตึกแถวที่มีดาดฟ้าสร้างชิดเขตที่ดินข้างเคียงให้สร้างผนังทึบ ด้านชิดเขตสูงเกิน 1.50 เมตร
  15. อาคารชุดพักอาศัย อาคารขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่ตึกแถว ห้องแถว ที่มีเนื้อที่เกิน 2,000 ตร.ม. หรือโรงแรม ต้องจัดให้มีที่ทิ้งขยะ
  16. อาคารที่ใช้เป็นสถานบริการจำหน่ายน้ำมันหรือแก๊ซ ที่ประกาศโดยกรมโยธาธิการ
  17. ห้องแถว ตึกแถว ที่ปลูกในแนวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเดียวกันหรือไม่ ให้เว้นระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร โดยมิมีสิ่งกีดขวางและปกคลุม ทุกระยะ 22 ห้องติดกัน
  18. อาคารสูงตั้งแต่ 15 เมตร ขึ้นไป มีเนื้อที่รวมทุกชั้นเกิน 1,000 ตร.ม. หรืออาคารใดที่เนื้อที่ทุกชั้นรวมเกิน 2,000

Popular Posts