www.plan4d.com

เกร็ดความรู้เรื่องบ้าน : ระบบท่อน้ำ - สุขภัณฑ์


ท่อน้ำที่ใช้ภายในบ้านมีมากมายหลายชนิด แต่ที่นิยมมากที่สุดในการนำมาใช้กับบ้านพัก อาศัย คือท่อพีวีซีสีฟ้า ชั้นคุณภาพ 13.5, 8.5 และ 5 ซึ่งเป็นท่อน้ำดี ส่วนบ้านหลังไหนจะใช้ท่อน้ำชั้นคุณภาพใด ขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบบ้านหลังนั้น จะกำหนด

1. ท่อพีวีซี สีฟ้า คือท่อน้ำดี หมายถึงท่อที่ใช้รับแรงดัน เช่น ท่อที่ต่อไปยังฝักบัว ท่อที่ต่อไปยังก๊อกน้ำภายในบ้าน เป็นต้น

2. ท่อพีวีซี สีเทา คือท่อน้ำทิ้ง หมายถึงท่อที่ไม่มีแรงดัน เช่น ท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างหน้า เป็นต้น

3. ท่อพีวีซี สีเหลือง คือท่อร้อยสายไฟภายในบ้าน

ส่วนท่อน้ำร้อนจะใช้ท่อทองแดง ท่อ PB สีดำ หรือแป๊ปน้ำที่เรียกว่า ท่อ GSP ก็ได้ จะเลือกใช้ท่ออะไรนั้นวิศวกรและผู้ออกแบบบ้านพักอาศัยหลังนั้นจะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสม แต่ที่สำคัญคือ การติดตั้งเครื่องทำความร้อนจะต้องดูแลข้อต่อต่างๆ เป็นพิเศษ เพราะเป็นจุดที่เกิดการรั่ว - ซึมได้ง่าย

โดยมากแล้ว ระบบท่อน้ำจะถูกซ่อนไว้ใต้อาคาร ในผนัง หรือใต้พื้น หากมีการรั่ว - ซึม จะสังเกตได้ยากทำให้เราต้องจ่ายค่าน้ำมากกว่าปกติ งานก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะรอยต่อทุกจุดของระบบ

ท่อพีบี (Polybutylene Resin)
ท่อพีบี เป็นท่อน้ำที่ผลิตจากเรซินโพลิบิวทิลีน (Polybutylene Resin) ซึ่งเป็นเรซินที่มีคุณภาพจากยุโรปและอเมริกา เป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง (High Molecular Weight)

ซึ่งทำให้คุณสมบัติทางการภาพต่างๆรวมทั้งค่าของความคงทนต่อสภาวะแวดล้อม (ESCR Environmental Stress Cracking Resistance) สูงตามไปด้วย ทำให้ท่อพีบี เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นท่อน้ำประปาทั่วไป ซึ่งสามารถทนอุณหภูมิได้ –40 °c สูงถึง 48 °c และท่อน้ำร้อนสามารถทนอุณหภูมิได้ –15 °c สูงถึง 90 °c คุณสมบัติเฉพาะ อ่อนตัวและยืดหยุ่นได้ดี น้ำหนักเบา ทนต่อแรงกระแทกได้สูง ทนแรงดันได้สูง ทนอุณหภูมิได้สูง ปราศจากสารเป็นพิษ คงทนต่อสารเคมี อายุการใช้งานยาวนาน

ชนิดของท่อ PB แบ่งได้ 2 ประเภท
1.ท่อน้ำอุณหภูมิปกติ(สีดำ)
2.ท่อน้ำร้อน SDR 11 (สีเทา)

ท่อเหล็ก GSP (Gavalnized Steel Pipe) เฉพาะที่มีผลิตและจัดจำหน่ายในประเทศไทย จะมีการผลิตออกมาตามมาตราฐานดังนี้.

1.ท่อ GSP มาตราฐาน BS-1387/1985 ซึ่งท่อมาตราฐานนี้ส่วนใหญ่จะถูกระบุให้ใช้ในงานโครงการต่างๆที่เป็น Commercial และท่อมาตราฐานนี้จะแบ่งลักษณะท่อออกเป็น 3 Class คือ
  • Class Light หรือ BS-S, 
  • Class B หรือ Class Medium หรือ BS-M, 
  • Class Heavy หรือ BS-H 
ซึ่งทั้งสาม Classนั้นจะแตกต่างกันที่ "ความหนาผนังท่อ" โดยเรียงลำดับความหนาผนังท่อมากสุด - น้อยสุด คือ H, M, S

2.ท่อ GSP มาตราฐาน TIS-276/2532, 277/2532 ซึ่งท่อมาตราฐานนี้ส่วนใหญ่จะถูกระบุให้ใช้ในงานโครงการต่างๆที่เป็น งานราชการ และท่อมาตราฐานนี้จะแบ่งลักษณะท่อออกเป็น 2 Type คือ
  • Type 2 โดยจะผลิตตั้งแต่ขนาดท่อ 1/2" - 6" เท่านั้น
  • Type 4 โดยจะผลิตตั้งแต่ขนาดท่อ 2-1/2" - 8" เท่านั้น

จากมิเตอร์ของการประปาถึงปั๊มน้ำในบ้านก็ควรมีถังพักน้ำเพื่อรองรับน้ำ ไม่ควรสูบน้ำโดยตรงจากเส้นท่อ เพราะมีผลเสีย หลายประการ เช่น ถ้าบริเวณนั้นน้ำไหลน้อย เครื่องสูบน้ำ ก็ปั๊มอากาศเข้าไปมาก มิเตอร์ก็จะหมุน เหมือนมีการสูบน้ำเข้าไป หรือ ปั๊มน้ำจะทำให้แรงดันในเส้นท่อลดลง ประกอบกับรอยต่อของเส้นท่อบางจุดรั่ว ก็จะดูดน้ำสกปรกจากภายนอกเข้าไปในเส้นท่อได้ เป็นต้น

ส่วนข้อระวังของการติดตั้งสุขภัณฑ์ ควรติดตั้งตามคำแนะนำ ในคู่มือของแต่ละยี่ห้ออย่างละเอียด เพราะหากละเลยจุดหนึ่ง จุดใดไป อาจเป็นสาเหตุ ทำให้สุขภัณฑ์มีปัญหาภายหลังการติดตั้งได้ เช่น ชักโครกแล้วไม่มีน้ำเอ่อหล่อเลี้ยงในโถชักโครก หรือน้ำไหลลงชักโครกตลอดเวลา เป็นต้น

0 comments:

Post a Comment

Popular Posts