www.plan4d.com

คำแนะนำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

เหตุผลสำคัญก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การ สาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้ จึงจำเป็นต้องมีการขออนุญาตในการก่อสร้างอาคาร , ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร ฯลฯ

เอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

1. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ
3. สำเนาโฉนดที่ดิน 1 ฉบับ
4. หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน 1 ฉบับ
5. หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างอาคารชิดเขต 1 ฉบับ
6. หนังสือมอบอำนาจ ( กรณีนิติบุคคล ) 1 ฉบับ

7. แบบก่อสร้าง 3 ชุด ประกอบด้วย
     7.1 แผนผัง มาตราส่วน 1 : 500
     7.2 แผนที่โดยสังเขป
     7.3 แปลนพื้นทุกชั้น มาตราส่วน 1 : 100
     7.4 คานคอดิน , ฐานราก มาตราส่วน 1 : 100
     7.5 โครงหลังคา มาตราส่วน 1 : 100
     7.6 รูปด้าน 2 รูป มาตราส่วน 1 : 100
     7.7 รูปตัดตามยาว , รูปตัดตามขวาง มาตราส่วน 1 : 50
     7.8 ขยายเสา , ขยายฐานราก , ขยายคาน มาตราส่วน 1 : 20
     7.9 ขยายบ่อเกรอะ , บ่อซึม มาตราส่วน 1 : 20
     7.10 แสดงทางระบายน้ำ พร้อมบ่อพัก , ลาดเอียง มาตราส่วน 1 : 200

หมายเหตุ : บ้านพักอาศัยพื้นที่ไม่เกิน 150 ตร.ม. ยื่นเฉพาะ ข้อ 7.1 และ 7.2

8. รายการคำนวณวิศวกร 1 ชุด
9. หนังสือยินยอมสถาปนิก / วิศวกรผู้ออกแบบ 1 ฉบับ
10. หนังสือรับรองของวิศวกรหรือสถาปนิกผู้ควบคุมงาน 1 ฉบับ

11. ถ้าผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล จะต้องมีหนังสือดังนี้
     11.1 หนังสือรับรองการจดทะเบียน
     11.2 หนังสือบริคณฑ์สนธิ

12. ถ้าเป็นอาคารในข่ายการจัดสรรที่ดิน ให้มีใบอนุญาตหรือใบรับรองจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินมาประกอบด้วย

ค่าธรรมเนียมการก่อสร้างอาคาร
  • อาคารสูงไม่เกินสองชั้นหรือไม่เกิน 12 ม. ตร.ม. ละ 0.50 บาท
  • อาคารสูงสามชั้นหรือเกิน 12 ม.แต่ไม่เกิน 15 ม. ตร.ม.ละ 2.00 บาท
  • อาคารสูงเกินสามชั้นหรือเกิน 15 เมตร ตร.ม.ละ 4.00 บาท
  • อาคารที่บรรทุก น.น.เกิน 500 ก.ก../ตร.ม. ตร.ม.ละ 4.00 บาท
  • ที่จอดรถและทางเข้าออกของรถ ตร.ม. ละ 0.50 บาท
  • ป้าย ตร.ม. ละ 4.00 บาท
  • อาคารประเภทที่ต้องวัดความยาว เช่น ทางเชื่อม หรือทางระบายน้ำ หรือรั้ว หรือกำแพง เมตรละ 1.00 บาท

อัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต

ข้อ 1 ให้กำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตดังนี้

( 1 ) ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
( 2 ) ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
( 3 ) ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
( 4 ) ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 10 บาท
( 5 ) ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้ ฉบับละ 20 บาท
( 6 ) ใบรับรอง ฉบับละ 10 บาท
( 7 ) ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 5 บาท


ข้อ 2 ให้กำหนดค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตดังนี้

( 1 ) ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
( 2 ) ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
( 3 ) ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
( 4 ) ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 10 บาท

ที่มา : กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 ( พ.ศ. 2528 ) ออกตามความใน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

อัตราโทษและค่าปรับ

ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 52 วรรคหก มาตรา 57 หรือมาตรา 60 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 34 หรือมาตรา 57 ยังต้องระวางโทษปรับอีกไม่เกิน 6 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง มาตรา 38 มาตรา 39 หรือมาตรา 39 ตรี วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท

ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร

  1. ห้ามมิให้ก่อสร้างอาคารหรือส่วนของอาคารยื่นออกมา ในหรือเหนือทางหรือที่สาธารณะ
  2. อาคารที่ทำด้วยไม้หรือวัตถุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรือก่อด้วยอิฐไม่เสริมเหล็ก จะก่อสร้างได้ไม่เกิน 2 ชั้น
  3. อาคารที่ก่อสร้างเกิน 3 ชั้น โรงมหรสพหรือหอประชุมที่สร้างเกิน 1 ชั้น นอกจากมีบันไดตามปกติ ต้องมีทางหนีไฟ อย่างน้อยอีก 1 แห่ง
  4. อาคารที่ก่อสร้างเกิน 7 ชั้น ให้มีทางหนีไฟทางอากาศได้ตามสภาพที่เหมาะสม
  5. การก่อสร้างอาคารริมทางสาธารณะที่มีความกว้างทางไม่ถึง 6 เมตร ให้ร่นแนวของอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะ อย่างน้อย 3 เมตร
  6. ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสาธารณะ ที่ก่อสร้างริมทางสาธารณะ ที่มีความกว้างทางน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะ อย่างน้อย 6 เมตร
  7. ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสาธารณะ ที่ก่อสร้างริมทางสาธารณะ ที่มีความกว้างทางตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะ อย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างทางสาธารณะ สำหรับทางสาธารณะที่กว้างกว่า 20 เมตร ให้ร่นแนวอาการห่างจากทางสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร
  8. ห้ามมิให้ก่อสร้างอาคารสูงกว่าระดับพื้นดินเกิน 2 เท่าของระยะจากผนังด้านหน้าของอาคาร จรดแนวทางสาธารณะฟากตรงข้าม
  9. ยอดหน้าต่างประตูในอาคารให้ทำสูงไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร และบุคคลที่อยู่ในห้องสามารถเปิดประตูหน้าต่าง และออกจากห้องนั้นโดยสะดวก
  10. ช่องทางเดินในอาคารสำหรับบุคคลใช้สอยหรือพักอาศัย ให้ทำกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร กับมิให้มีเสากีดกั้น ให้ส่วนใดแคบกว่าส่วนที่กำหนดนั้น ทั้งนี้ต้องให้มีแสงสว่างแลเห็นได้ชัด
  11. วัตถุมุงหลังคาทำด้วยวัตถุทนไฟ เว้นแต่อาคารซึ่งตั้งอยู่ห่างจากอาคารอื่นซึ่งมุงด้วยวัสดุทนไฟ หรือห่างจากเขตที่ดิน ทางสาธารณะเกิน 40 เมตร
  12. รั้วหรือกำแพงทำได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับถนน
  13. อาคารที่ก่อสร้างชิดเขตที่ดินข้างเคียงให้เฉพาะฝาหรือผนังทึบ ไม่มีประตูหน้าต่างหรือช่องระบายอากาศอยู่ชิดเขต
  14. ตึกแถวที่มีดาดฟ้าสร้างชิดเขตที่ดินข้างเคียงให้สร้างผนังทึบ ด้านชิดเขตสูงเกิน 1.50 เมตร
  15. อาคารชุดพักอาศัย อาคารขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่ตึกแถว ห้องแถว ที่มีเนื้อที่เกิน 2,000 ตร.ม. หรือโรงแรม ต้องจัดให้มีที่ทิ้งขยะ
  16. อาคารที่ใช้เป็นสถานบริการจำหน่ายน้ำมันหรือแก๊ซ ที่ประกาศโดยกรมโยธาธิการ
  17. ห้องแถว ตึกแถว ที่ปลูกในแนวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเดียวกันหรือไม่ ให้เว้นระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร โดยมิมีสิ่งกีดขวางและปกคลุม ทุกระยะ 22 ห้องติดกัน
  18. อาคารสูงตั้งแต่ 15 เมตร ขึ้นไป มีเนื้อที่รวมทุกชั้นเกิน 1,000 ตร.ม. หรืออาคารใดที่เนื้อที่ทุกชั้นรวมเกิน 2,000

0 comments:

Post a Comment

Popular Posts